วิสัยทัศน์
“โครงสร้างพื้นฐานพัฒนา รักษาศิลปวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น และธำรงไว้ซึ่ง อัตลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
- ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเกษตร ยกระดับการพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรสู่การเป็นฐานการผลิตเกษตรปลอดภัย
- พัฒนาระบบบริหารจัดการชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของตนเอง ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากชีวภาพและสร้างชุมชนคาร์บอนต่ำ
- พัฒนาโครงสร้างเมืองพื้นฐาน โครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่ง รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และระบบการจัดการส่งสินค้าและข้อมูล
ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด
มีทั้งหมด 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งน้ำ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าประสงค์ : มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคที่ไดได้มาตรฐานเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์ : มีการส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การการพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
เป้าประสงค์ : มีการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และทะนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การด้านสาธารณสุข
เป้าประสงค์ : มีการป้องกันแหละควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านสังคม
เป้าประสงค์ : มีการจัดสวัสดิการ ช่วยเหลือ ดูแลผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และพัฒนาศักยภาพบุคลากรของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ : การพัฒนา ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
เป้าประสงค์ : มีการเผยแพร่การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด
ระดับความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด
หน่วยวัด : ร้อยละของระดับความสำเร็จของโครงการ / กิจกรรม
ค่าเป้าหมาย
- ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและขนส่ง มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทั่วถึง ภาคเกษตรกรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม มากกว่าร้อยละ 60
- ชุมชนยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจท้องถิ่นมีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว วิสาหกิจในชุมชน มีความพร้อมแข่งขันและรองรับผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้มากกว่าร้อยละ 60
- ชุมชนและองค์กรภาคสังคมในท้องถิ่น สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นของตนให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ได้มากกว่าร้อยละ 60
- ชุมชนมีการป้องกันแหละควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมดูแล สุขภาพอนามัยของประชาชน ได้มากกว่าร้อยละ 60
- ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ประสบปัญหาทางสังคม ได้รับบริการและสวัสดิการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างทั่วถึง รวดเร็วและเป็นธรรมบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ได้มากกว่าร้อยละ 60
- ชุมชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาในด้านการจัดการ
- ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ได้มากกว่าร้อยละ 60
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกระบวนการบริหารจัดการภายใต้หลัก ธรรมาภิบาลและการจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ ได้มากกว่าร้อยละ 70
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่จำเป็น
- กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร
- กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
- กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างภูมิคุ้มกันระบบเศรษฐกิจ
- กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อรองรับ AEC
- กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการค้า การลงทุนที่มุ่งเน้นประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อท้องถิ่น
- กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับศักยภาพชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงองค์รวม
- กลยุทธ์ที่ 2 อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน
- กลยุทธ์ที่ 3 การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ภายนอก
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
- กลยุทธ์ที่ 1 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชุมชน
- กลยุทธ์ที่ 2 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- กลยุทธ์ที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุข และปัญหาแรงงานต่างด้าว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านสังคม
- กลยุทธ์ที่ 1 สิ่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน
- กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กลยุทธ์ที่ 1 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน
- กลยุทธ์ที่ 2 การควบคุม ป้องกัน แก้ปัญหาขยะและมลภาวะในชุมชน
- กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
- กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรท้องถิ่น
- กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล
- กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบควบคุม
จุดยืนทางยุทธศาสตร์
จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยุทธศาสตร์จังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจภายในชุมชนให้มีคุณภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลดอยเต่าจึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) คือ “เป็นตำบลน่าอยู่ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ มีภูมิคุ้มกันทางสังคมเพื่อให้ชุมชนมีรากฐานที่เข้มแข็ง ธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี อนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน”
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม